การตรวจติดตามภายในสำหรับหลักปฏิบัติที่ดีในกระจายสินค้าประเภทยา

Internal Audit for Good Distribution Practice (GDP) Requirement for Thai FDA

ผู้ตรวจติดตามภายในคือบุคลากรที่ทำหน้าที่ในการตรวจสอบ ทบทวนระบบ พร้อมทำการแนะนำสิ่งที่ควรปฏิบัติเพื่อให้องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์คุณภาพ จึงนับว่าผู้ตรวจติดตามภายในนั้นเป็นบุคลากรที่สำคัญอย่างยิ่งในองค์กรในการพัฒนา ปรับปรุงระบบให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามกรอบนโยบาย

ประโยชน์ที่จะได้รับ

  • เข้าใจถึงความหมายของการตรวจประเมินภายใน และคุณสมบัติของผู้ตรวจประเมินภายใน
  • สามารถตีความข้อกำหนดของ GDP เพื่อใช้เป็นแนวทางในการตรวจประเมินภายใน
  • เข้าใจถึงการวางแผนในการตรวจประเมิน เพื่อใช้ในการจัดทำโปรแกรมสำหรับการตรวจประเมินภายใน
  • เข้าใจถึงการเตรียมการในการตรวจประเมินภายใน เพื่อใช้ในการจัดทำรายการการตรวจประเมิน (Checklist)
  • เข้าใจถึงเทคนิคในการตรวจประเมิน เพื่อใช้ในการตั้งคำถาม, สัมภาษณ์, การสุ่มตัวอย่างและการรวบรวมหลักฐานในการตรวจประเมิน
  • สามารถเขียนใบร้องขอให้มีการแก้ไข (CARs) ที่แสดงถึงข้อเท็จจริงและเป็นประโยชน์กับผู้ถูกตรวจประเมิน
  • สามารถเขียนรายงานผลการตรวจประเมิน เพื่อให้ผู้บริหารใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงความมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของระบบ GDP